Image

เคล็ดลับการวางแผนทำงานร่วมกับ composer เพื่อให้หนังของท่านออกมาสมบูรณ์ที่สุด

Director บางท่านอาจยังไม่ทราบว่า เราควรจะวางแผนอย่างไรเพื่อที่จะทำงานกับ Composer หรือ คนแต่งดนตรีในภาพยนต์ เพื่อให้ออกมาดีที่สุด เพราะดนตรีประกอบภาพยนต์นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ช่วยให้หนังเข้าถึงอารมณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งบางท่านไม่รู้จะทำอย่างไรกับส่วนนี้และไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า จึงทำให้ยากลำบากต่อคนทำเสียง(รวมถึงคนทำ sound design, sfx ด้วย) และทำให้ทำงานออกมาไม่เต็มประสิทธิภาพแบบที่ควรจะเป็น

Image

ปัจจัยสำคัญในการผลิตงานของ composer คือ

1. ระยะเวลาในการผลิต

แน่นอนว่า การให้ระยะเวลาที่เยอะ จะทำให้ทำงานได้เต็มที่มากขึ้น มีเวลาให้กับงานและปรับแก้มากขึ้น เรื่องระยะเวลาเรียกได้ว่าแทบจะเป็นปัจจัยหลักที่สุดเลยครับ

2. ความยาวของดนตรีทั้งหมด

ที่นี้เราต้องมาดูว่า ความยาวของดนตรีในหนังทั้งหมด มันเหมาะสมกับระยะเวลาที่ให้ทำด้วยหรือไม่ ถ้าเพลงยาวแต่ให้เวลาทำนิดเดียว ก็ทำให้งานกลายเป็นงานเผาได้

3. ความยากง่ายและซับซ้อนของดนตรี

ความยากง่ายของดนตรีก็เป็นเรื่องหลัก ที่ composer จะต้องใช้เวลากับมัน อย่างง่ายก็อาจจะเป็นงานดนตรีแอมเบี้ยน ไปจนถึงงานยากสุดที่เป็น full orchestra ซึ่งมีความซับซ้อนและใช้เวลาเยอะที่สุด

4. งบประมาน

การจัดสรรงบประมานไม่ควรจะน้อยเกินไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ composer แต่ละคน งบประมานที่ใช้นั้นแจกแจงคร่าวๆเช่น ค่าคิดงาน+ค่าผลิตงาน, ค่าผู้ช่วย(หากมีการผลิตงานใหญ่ในเวลาที่เร่งรีบมักจะมีส่วนนี้), ค่าแก้งานเกินกว่าจำนวนที่กำหนด, ค่านักดนตรีและห้องอัด, และค่า Final Mix

ปล. ถึงแม้อาจจะไม่มีค่านักดนตรีและอัดเสียง(ทำงานโดยใช้ software อย่างเดียว) ก็จะมีราคาหลากหลายตามประสบการณ์ของ composer


วางแผนร่วมมือกับ composer ว่าอย่างไรจึงจะดีที่สุด (สำหรับหนังยาว)

เรียงลำดับจากดีที่สุดไปเสี่ยงที่สุด

Image

1. ให้ระยะเวลาในการทำงานกว่า 3 เดือนขึ้นไป มีการคุยกันกับcomposer ช่วงเขียนสคริปต์เสร็จ หรือ ก่อนถ่ายหนัง

ระยะนี้เป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุดและมีประสิทธิภาพมากสุด คือ Director ควรจะหา composer และตกลงกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆว่าเราจะทำงานแบบไหน ต้องการเพลงแบบไหน เช่นเดียวกับที่ Hans Zimmer ทำกับหลายๆงาน คือมีการเขียนเพลงDemoล่วงหน้า ตั้งแต่ช่วงอ่านคริปต์หรือเพิ่งถ่ายทำ เพื่อให้ Director ดูว่าเพลงแบบนี้เหมาะหรือไม่ และลองนำเพลงมาวางได้ตั้งแต่ช่วง edit ภาพใหม่ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปใช้ reference จากเพลงคนอื่น ทำให้งานออกมาเป็น unite มากขึ้น (การเขียนเพลงล่วงหน้าแบบนี้ มีชื่อเรียกว่าการเขียน Suite สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)

2. ให้ระยะเวลาในการทำงาน 2-3 เดือน มีการพูดคุยกับ composer ช่วงหลังถ่ายหนังเสร็จ อยู่ในขั้นตอน edit ภาพ

ระยะนี้ยังถือเป็นระยะค่อนข้างปลอดภัย เพราะเรายังมีเวลาคุยกับ composer ในขณะที่อยู่ในขั้นตอน edit เพื่อ ทำเพลงกับภาพไปพร้อมๆกันทีละ reel ได้ ในระยะนี้อาจจะมีข้อเสียที่การ edit ภาพนั้นบางทีจะต้องวาง reference เพลงที่นำมาจากที่อื่นก่อน ซึ่งอาจทำให้editor และdirector ติดเพลง reference ซะเอง ทำให้ composer ต้องมาทำเพลงให้เหมือนกับที่วางไว้และทำให้เพลงในหนังไม่unique ยกเว้นเสียว่าจะไม่วางเพลง reference ก่อน แล้วให้ composer ไปคิดเอง

* ข้อควรระวัง แนะนำให้ composer ทำเพลงในขั้นตอนที่ edit เสร็จแบบค่อนข้าง lock ภาพแล้ว เพราะการแก้เพลงให้ตรงกับภาพที่เปลี่ยนเวลาไปเยอะ เป็นงานใหญ่ที่เรียกได้ว่าแทบจะทำใหม่เลย บางที composer อาจจะคิดเงินเพิ่มในส่วนแก้แบบนี้ด้วย

3. ให้ระยะเวลาในการทำงานน้อยกว่า 2 เดือน ในขณะที่ cutting ยังไม่สมบูรณ์

เป็นระยะที่ค่อนข้างเสี่ยงแล้ว เพราะนอกจาก cutting ต้องเร่งทำแล้ว composer ก็ต้องรอcutting ด้วย ซึ่งทำให้งานเร่งรีบ ถ้าหากมีแก้ cutting ก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับ composer เช่นกัน เป็นงานที่ลำบากด้วยกันทั้งคู่ ข้อเสียอีกอย่างคือไม่มีเวลาให้ใช้ idea หรือความ creative มากนัก เพราะเร่งรีบ จึงต้องทำเพลงให้คล้าย reference

4. ให้ระยะเวลาในการทำงานน้อยกว่า 1 เดือน

เป็นระยะที่อันตรายที่สุด อาจทำให้หนังของท่านออกมาห่วยเลยก็เป็นได้ เพราะทุกอย่างต้องเร่งรีบไปเสียหมด เพราะ composer ไม่ได้แต่งเพลงเสร็จแล้วคือเสร็จ ต้องมีเวลารอ proof รอแก้งานและอัดเสียงด้วย ในระยะเวลาที่สั้นแบบนี้อาจทำให้มี composer มากกว่า1คนช่วยกัน ทำให้ต้องเพิ่ม budget ในส่วนนี้ด้วย จนไม่มีเวลาให้ใช้ idea และความ creative ในงานหนังของท่าน

บทสรุป

การวางแผนที่ดีที่สุดในการทำงานกับ composer จึงเป็นข้อแรกสุด ยิ่งติดต่อกัน คุยกัน และเปลี่ยนไอเดียกันมากเท่าไร ยิ่งทำให้งานออกมามีคุณภาพ, มีสไตล์ และความเป็นตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เพราะถ้าหาก director มีปัญหา หรืออยากแก้งานตรงไหน เราก็จะมีเวลาที่มองไปที่จุดนั้นและแก้งานออกมาได้เหมาะสมที่สุดครับ